จากไทยรัฐ...
ประวัติท่าน จาก wiki... บุษยา_รังสี
บุษยา รังสี หรือ ชื่อจริงว่า มานี ทัพพะรังสี ((ชื่อเล่น: ต้อย)) เป็นบุตรสาวของพระยานราทรพิรัญรัฐ (เยื้อน ทัพพะรังสี) และเสงี่ยม ทัพพะรังสี เกิดเมื่อ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2483 ที่จังหวัดสงขลา จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้อนุปริญญาทางพาณิชยศาสตร์และการบัญชีเคยเป็นนักร้องประจำวงพณิชยการพระนคร เมื่อครั้งศึกษาอยู่ที่พณิชยการพระนคร และได้ช่วยร้องให้วงดนตรีโรงเรียนนายเรือ ณ สถานีวิทยุ อ.ส.ในสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต ต่อมาได้เป็นนักร้องวงสโมสรมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เมื่อครั้งที่บุษยาร้องให้วงดนตรีโรงเรียนนายเรือ ณ สถานีวิทยุ อ.ส. ในสวนจิตรลดา ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงดนตรีร่วมด้วยนั้น ครูเอื้อ สุนทรสนาน ได้เข้าเฝ้า ได้ฟังเสียงเธอร้องเพลง "สำคัญที่ใจ" เลยชวนให้ไปร้องเพลงด้วยกัน แต่บุษยายังห่วงเรียนจึงปฏิเสธครูเอื้อไป เมื่อเรียนอยู่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บุษยาได้ร่วมร้องเพลงกับวงสุนทราภรณ์เมื่อวงดนตรีไปบรรเลงที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บุษยาได้เข้า วงดนตรีสุนทราภรณ์เมื่อต้นเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2502 ในขณะที่เรียนอยู่ชั้นปีที่ 1 โดยชอุ่ม ปัญจพรรค์ ให้เธอใช้ชื่อว่า "ทัดดาว บุษยา" แต่ ครูเอื้อ สุนทรสนานให้ใช้ชื่อว่า "บุษยา" เมื่อเข้ามาอยู่ในวงดนตรีสุนทราภรณ์แล้ว ต่อมาเธอได้ออกทีวีครั้งแรก ชื่อ "บุษยา รังสี" ได้เป็นที่รู้จักตั้งแต่นั้นมา
เพลงแรกที่ทำชื่อเสียงและได้บันทึกแผ่นเสียง ของบุษยา รังสี คือเพลง "น้ำตาดาว"
เพลงที่สร้างชื่อเสียง ได้แก่ น้ำตาดาว โดมในดวงใจ กระซิบสวาท สั่งไทร ลาภูพิงค์ พุทธศาสน์คู่ไทย ฝากหมอน แนวหลัง โดมร่มใจ แดนนภา ถึงพี่ จำจากโดม พอกันที ถึงอย่างไรก็ไม่เหมือนเดิม ลาแล้วแดนขจี อาลัยร่มพฤกษ์ ลาดงตาล
บุษยา รังสีรับราชการในกรมประชาสัมพันธ์ เมื่อครูเอื้อ สุนทรสนานเกษียณอายุราชการ ได้ออกมาร้องเพลงไทยสากลอยู่ระยะหนึ่ง เพลงที่เป็นที่รู้จัก กันดีได้แก่ ฝั่งหัวใจ ต่อมาได้ติดตามสามี (พลเรือเอกชูชาติ เกษเสถียร) ไปอยู่ต่างประเทศระยะหนึ่ง เมื่อกลับมาเมืองไทยได้ขับร้องเพลงให้กับวงดนตรีสุนทราภรณ์และวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ ในงานการกุศลต่าง ๆ ปัจจุบันเธอหยุดร้องเพลงเนื่องจากสุขภาพไม่อำนวย
บุษยา รังสีถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553.....
ขอดวงวิญญาณท่านสู่สุขคติเทอญ.....
ขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.karaoke-soft.com/smf/index.php?topic=31558.0
************************************************************************
ศิลปินแห่งชาติและครูเพลงชื่อดัง"พยงค์ มุกดา" เสียชีวิตแล้ว ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี ด้วยโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
เมื่อวันที่ 12 ก.พ. นายวินัย พันธุรักษ์ ลูกศิษย์ ครูพยงค์ มุกดา ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงลูกทุ่ง เพลงไทยสากล) ปี 2534 เปิดเผยว่า ครูพยงค์ มุกดา ได้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ และไตวาย ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี ในเวลา 10.00 น. ของวันเดียวกันนี้ รวมอายุได้ 83 ปี โดยทางญาติและเหล่าลูกศิษย์ จะเคลื่อนศพของครูพยงค์ ไปไว้ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ บางเขน ในช่วงบ่ายของวันที่ 13 ก.พ. และจะมีพิธีรดน้ำศพ เวลา 16.00 น. โดยกำหนดการสวดพระอภิธรรมศพ ตั้งแต่วันที่ 13-19 ก.พ. รวม 7 วัน
"ก่อนที่ครูพยงค์ จะเสียชีวิต ไม่ได้ฝากอะไรไว้เป็นพิเศษ ส่วนตัวผมจะรับหน้าที่ดูแลเรื่องของลิขสิทธิ์เพลงให้ครูพยงค์ ซึ่งจะทำหน้าที่ตรงนี้ให้ดีที่สุด เพราะครูพยงค์ได้แต่งเพลงที่มีคุณค่าไว้เป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม เหล่าลูกศิษย์ของครูต่างเสียใจกับการจากไปครั้งนี้ และนับว่าเราได้สูญเสียครูเพลงที่สำคัญไปอีกท่านหนึ่ง" นายวินัย กล่าว
ด้านนายสมชาย เสียงหลาย เลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (กวช.) กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (สวช.) ได้รับทราบว่า ครูพยงค์ ได้เสียชีวิตลงแล้ว ก็รู้สึกเสียใจที่ประเทศไทยได้สูญเสียศิลปินที่มีความสามารถ สูญเสียปูชนียบุคคลที่สำคัญด้านวงการเพลงไปอีกหนึ่งท่าน อย่างไรก็ตาม สวช. จะเป็นผู้ดำเนินการขอพระราชทานเพลิงศพ ช่วยเหลือเงินเมื่อเสียชีวิต เพื่อร่วมบำเพ็ญกุศลศพ 15,000 บาท และช่วยเหลือค่าจัดทำหนังสือเผยแพร่ผลงานเมื่อเสียชีวิตอีก 120,000 บาท
ประวัติ ครูพยงค์ มุกดา
สำหรับ ครูพยงค์ มุกดา เกิดวันที่ 4 พค.2469 เป็นชาวราชบุรีเป็นบุตรนายแก้ว และนางบุญ มุกดา เกิดบนเรือกลางแม่น้ำแม่กลองบริเวณต.ท่าเสา จ.ราชบุรี จบชั้น ป.4 จากโรงเรียนเทศบาล วัดราชนัดดาราม เข้าสู่วงการจากการเป็นนักร้อง วงดุริยางค์กองทัพบก โดยการสนับสนุนของครูจำปา เล้มสำราญต่อมาจึงก่อตั้งวงดนตรีเป็นของตัวเองชื่อ วงพยงค์ มุกดา ซึ่งได้รับพระราชทานชื่อว่า "วงมุกดาพันธ์"
ครูพยงค์ มุกดา มีผลงานออกมาจำนวนมาก เคยเป็นนักร้อง นักแสดง นักจัดรายการวิทยุ เคยแสดงภาพยนตร์ เช่นเรื่อง เสน่ห์บางกอก, ไซอิ๋ว เคยอยู่ วงดุริยางค์กองทัพเรือ เป็นผู้ประพันธ์เพลงมาร์ช เช่น "สหมาร์ชราชนาวี", "มาร์ชสามัคคีสี่เหล่า", นาวีบลู
ในฐานะนักแต่งเพลง ครูพยงค์ มุกดา มีผลงานทั้งเพลงลูกทุ่ง ลูกกรุง และเพลงมาร์ช ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทานจากเพลง"นกขมิ้น" (ขับร้องโดย ธานินทร์ อินทรเทพ) "ช่อทิพย์รวงทอง" (ขับร้องโดยสมยศ ทัศนพันธ์)"นางรอง" และ "รักใครไม่เท่าน้อง" (ขับร้องโดย ทูล ทองใจ) "ลูกนอกกฎหมาย" (ขับร้องโดยศรีสอางค์ ตรีเนตร)"รอพี่กลับเมืองเหนือ"(ขับร้องโดยพรทิพย์ภา บูรณกิจบำรุง) "เด็ดดอกรัก" (ขับร้องโดย ชรินทร์ นันทนาคร) และ "ฝั่งหัวใจ" ขับร้องโดย บุษยา รังสี
ในปี พ.ศ. 2532 ครูพยงค์ ได้รับรางวัลพระราชทานในงานกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย 2 รางวัล จากเพลง"สาวสวนแตง" (ขับร้องโดยสุรพล สมบัติเจริญ) และ "ล่องใต้" (ขับร้องโดยชัยชนะ บุญนะโชติ) และในปี พ.ศ. 2534 ได้รับรางวัลพระราชทาน 3 รางวัล จากเพลง "ยอยศพระลอ" (ขับร้องโดย ชินกร ไกรลาศ) "น้ำตาสาวตก" (ขับร้องโดย ศรีสอางค์ ตรีเนตร) และ "ลูกทุ่งเสียงทอง" (ขับร้องโดย เพชร พนมรุ้ง)
ในปี พ.ศ. 2534 พยงค์ มุกดา ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ประพันธ์เพลงไทยสากล-เพลงลูกทุ่ง) นอกจากนี้ ลูกศิษย์ของท่านถึง 2 คน ก็ได้รับเชิดชูเป็นศิลปินแห่งชาติ เช่นกัน คือ ชัยชนะ บุญนะโชติ(พ.ศ. 2541) และ ชินกร ไกรลาศ(พ.ศ. 2542)
ในปี พ.ศ. 2551 ครูพยงค์ มุกดา ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินอาวุโส รางวัลนราธิปประจำปี พ.ศ. 2550
"ครูพยงค์ มุกดา"
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นาวาตรีพยงค์ มุกดา (4 พฤษภาคม พ.ศ. 2469 - 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553) นักร้อง นักแสดง นักแต่งเพลง ที่มีชื่อเสียงจากการเป็นนักแต่งเพลงเป็นจำนวนมาก ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2534 และได้รับรางวัลนราธิป ประจำปี พ.ศ. 2550
พยงค์ มุกดา เป็นชาวจังหวัดราชบุรี เป็นบุตรของนายแก้ว และนางบุญ มุกดา เกิดบนเรือกลางแม่น้ำแม่กลอง บริเวณตำบลท่าเสา จังหวัดราชบุรี จบชั้น ป.4 จากโรงเรียนเทศบาลวัดราชนัดดาราม และเข้าสู่วงการจากการเป็นนักร้องวงดุริยางค์กองทัพบก โดยการสนับสนุนของครูจำปา เล้มสำราญ ต่อมาจึงก่อตั้งวงดนตรีเป็นของตัวเองชื่อ วงพยงค์ มุกดา ซึ่งได้รับพระราชทานชื่อว่า "วงมุกดาพันธ์"
ครูพยงค์ มุกดา มีผลงานออกมาเป็นจำนวนมาก เคนเป็นนักร้อง นักแสดง นักจัดรายการวิทยุ เคยแสดงภาพยนตร์ เช่นเรื่อง เสน่ห์บางกอก, ไซอิ๋ว เคยอยู่วงดุริยางค์กองทัพเรือ เป็นผู้ประพันธ์เพลงมาร์ช เช่น "สหมาร์ชราชนาวี", "มาร์ชสามัคคีสี่เหล่า", นาวีบลู
ในฐานะนักแต่งเพลง ครูพยงค์ มุกดา มีผลงานทั้งเพลงลูกทุ่ง ลูกกรุง และเพลงมาร์ช ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทานจากเพลง "นกขมิ้น" (ขับร้องโดย ธานินทร์ อินทรเทพ) "ช่อทิพย์รวงทอง" (ขับร้องโดย สมยศ ทัศนพันธ์) "นางรอง" และ "รักใครไม่เท่าน้อง" (ขับร้องโดย ทูล ทองใจ) "ลูกนอกกฎหมาย" (ขับร้องโดย ศรีสอางค์ ตรีเนตร) "รอพี่กลับเมืองเหนือ" (ขับร้องโดย พรทิพย์ภา บูรกิจบำรุง) "เด็ดดอกรัก" (ขับร้องโดย ชรินทร์ นันทนาคร) และ "ฝั่งหัวใจ" ขับร้องโดย บุษยา รังสี)
ในปี พ.ศ. 2532 ครูพยงค์ ได้รับรางวัลพระราชทานในงานกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย 2 รางวัล จากเพลง "สาวสวนแตง" (ขับร้องโดย สุรพล สมบัติเจริญ) และ "ล่องใต้" (ขับร้องโดย ชัยชนะ บุญนะโชติ) และในปี พ.ศ. 2534 ได้รับรางวัลพระราชทาน 3 รางวัล จากเพลง "ยอยศพระลอ" (ขับร้องโดย ชินกร ไกรลาศ) "น้ำตาสาวตก" (ขับร้องโดย ศรีสอางค์ ตรีเนตร) และ "ลูกทุ่งเสียงทอง" (ขับร้องโดย เพชร พนมรุ้ง)
ในปี พ.ศ. 2534 พยงค์ มุกดา ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ประพันธ์เพลงไทยสากล-เพลงลูกทุ่ง) นอกจากนี้ ลูกศิษย์ของท่านถึง 2 คน ก็ได้รับเชิดชูเป็นศิลปินแห่งชาติ เช่นกัน คือ ชัยชนะ บุญนะโชติ (พ.ศ. 2541) และ ชินกร ไกรลาศ (พ.ศ. 2542)
ในปี พ.ศ. 2551 ครูพยงค์ มุกดา ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินอาวุโส รางวัลนราธิป ประจำปี พ.ศ. 2550
ครูพยงค์ มุกดา ถึงแก่กรรมด้วยโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะและไตวายที่โรงพยาบาลรามาธิบดี เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 รวมอายุได้ 83 ปี
ขอบคุณจาก
http://www.thaifilm.com/forumDetail.asp?topicID=5851&page=1&...
******************************************************
"หยาด นภาลัย" ปิดฉากชีวิต เจ้าของเสียงนุ่ม
หยาด นภาลัย ตัวจริงเสียงจริง ที่น้อยคนนักจะเคยได้
เจ้าของเสียงร้องนุ่มลึก "หยาด นภาลัย" เสียชีวิตลงแล้ว ที่ รพ.พระนั่งเกล้าฯ หลังป่วยด้วยหลายโรค ทั้งเบาหวาน และความดันโลหิต มานานหลายปี ญาติตั้งศพ ที่วัดโตนดมหาสวัสดิ์ พรุ่งนี้...
เมื่อวันที่ 5 ก.พ. นางเพชรรีรัตน์ กาญจน์วิบูลย์ ภรรยาของหยาด นภาลัย นักร้องเสียงอมตะ เจ้าของเสียงเพลง ลำน้ำพอง เปิดเผยแก่ไทยรัฐออนไลน์ ว่า
หยาด นภาลัย ได้เสียชีวิตลงแล้ว ในวัย 65 ปี หลังจากป่วยด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิต มานานหลายปี ที่ โรงพยาบาลพระนั่งเกล้าฯ ทั้งได้ จะตั้งศพที่ วัดโตนดมหาสวัสดิ์ ถนนกรุงนนท์ - จงถนอม ในวันที่ 6 ก.พ. 2553
สำหรับ หยาด นภาลัย มีบุตรสองคน คือ พิชสินี และ บุณยรัตน์ อายุ 17 และ 18ปี ทั้งสองกำลังเรียนในระดับมหาวิทยาลัย ส่วน ตนมีอาชีพรับจ้างทั่วไป และรายได้หลักก็มาจากลิขสิทธิ์เพลงนับพันเพลงที่หยาด นภาลัย ร้องเอาไว้
ด้าน หมู กิตติศักดิ์ สายน้ำทิพย์ โปรดิวเซอร์ชื่อดัง เผยว่า หยาด นภาลัย เข้าวงการเพลงโดยใช้ชื่อว่า นรินทร์ นันทนาคร เพราะมีน้ำเสียงคล้าย ชรินทร์ นันทนาคร เริ่มทำเพลงกับ ค่ายเพลง พีจีเอ็ม และมีผลงานเพลงมากกว่า 50 ชุด ผลงานเพลงที่แต่งเอง ชื่อว่า ลำน้ำพอง จัดเป็นเพลงอมตะตลอดกาล และได้ฉายาว่าเป็นผู้บุกเบิกเพลงอมตะในวงการเพลงลูกกรุงไทย
ขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.thairath.co.th/content/ent/63288
ภาพจาก
http://music.sanook.com/profile/profile_14717.php
You need to be a member of iMusic to add comments!
Join iMusic